องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ :www.samrantai.go.th

 
 

 

 

สภาพทั่วไป

สภาพข้อมูลพื้นฐาน

(๑) ด้านกายภาพ

๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

ความเป็นมา  องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้  อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสามชัย องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ ยกฐานะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๒๕ หมู่ที่ ๑ บ้านโคกสำราญ ตำบลสำราญใต้  อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ ๘๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๔,๓๗๕ ไร่ (๑ ตารากิโลเมตร เท่ากับ ๖๒๕ ไร่) อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอสามชัย ระยะห่างจากตัวอำเภอสามชัยประมาณ ๗ กิโลเมตร โทรศัพท์ ๐๔๓-๐๑๙๖๓๑ มีอาณาเขตพื้นที่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง ๕ ตำบล ดังนี้

ทิศเหนือ         ติด  เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำราญ  อำเภอสามชัย  จังหวัดกาฬสินธุ์

ทิศตะวันออก  ติด  เขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำสร้างเที่ยง และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้าง

ทิศใต้             ติด เขตตำบลภูสิงห์  อำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์

ทิศตะวันตก   ติด  เขตเทศบาลตำบลลำพันชาด  อำเภอวังสามหมอ  จังหวัดอุดรธานี

.  ลักษณะภูมิประเทศ  สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้มีสภาพทั่วไปของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน มีแหล่งน้ำเขื่อนลำปาวล้อมรอบ และบางพื้นที่ติดกับท้ายเขื่อนลำปาว  มีเนื้อที่ประมาณ ๘๗ ตารางกิโลเมตร  หรือ ประมาณ ๕๔ม๓๗๕ ไร่ (๑ ตารางกิโลเมตร เท่ากับ ๖๒๕ ไร่ )

            ๑.๓  ลักษณะภูมิอากาศ  สภาพอากาศทั่วไปของเขตพื้นที่ตำบลสำราญใต้มีอากาศร้อนและแห้งแลง

                     ฤดูร้อน เริ่มต้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศร้อนจัดและแล้งจัดติดต่อเป็นระยะเวลานานความชื้นในอากาศมีน้อย และมีพายุฤดูร้อนเป็นบางช่วงที่มีคลื่นความร้อนปกคลุม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ ๓๕ ๔๐ องศาเซลเซียส          

                       ฤดูฝน เริ่มต้นระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน อากาศร้อนและมีพายุลมฝนฟ้าคะนองลมแรงกว่าปีที่แล้วและมีภาวะฝนทิ้งช่วงในบางช่วงซึ่งเดือนกันยายน เป็นเดือนที่ฝนตกมากที่สุด เฉลี่ย ประมาณ ๒๓๘ มิลลิเมตร

ฤดูหนาว เริ่มต้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ ๑๕ องศาเซลเซียส (อ้างอิง สถานีอุตุนิยมวิทยากาฬสินธุ์)

๑.๔  ลักษณะของดิน  สภาพดินในเขตตำบลสำราญใต้จำนวน ร้อยละ 90 มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ เป็นพืชไร่

๑.๕  ลักษณะของแหล่งน้ำ  มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ  อุปโภค - บริโภค  จำนวน    แห่ง แหล่งน้ำ ๑ แห่งเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ได้ดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน  ดังนี้

                                ลำห้วย                   3              แห่ง                         สระน้ำ                    ๑๒          แห่ง

                                หนองน้ำ                 -               แห่ง                         บ่อบาดาล              -               แห่ง                        

                                อ่างเก็บน้ำ              -               แห่ง                         ฝาย                                     แห่ง

                                แม่น้ำ                                   แห่ง                         อื่นๆ (ระบุ)              -               แห่ง        

                ๑.๖  ลักษณะของไม้/ป่าไม้  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้พื้นที่ป่าไม้เป็นป่าไม้โคก 

            ๒.๑ เขตการปกครอง  องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ ประกอบด้วยหมู่บ้าน ๒๐ หมู่บ้านมีพื้นที่อยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด ๒๐ หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่    บ้านโคกสำราญ                     ผู้ปกครอง  นายอวยชัย  ภูศรีนวล                           ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่    บ้านหนองแสง                       ผู้ปกครอง  นายประหยัด  คงประพัฒ                     ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่    บ้านหนองแสงใหม่
                 ผู้ปกครอง  นายพงษ์ไพโรจน์  เสนาเลิศ                  ผู้ใหญ่บ้าน   
หมู่ที่    บ้านคำเขื่อนแก้วเหนือ            ผู้ปกครอง  นายอดิศักดิ์  ชุ่มเรืองศรี                     ผู้ใหญ่บ้าน 
หมู่ที่    บ้านกุดแห่                             ผู้ปกครอง  นายบุญมา  ธาตุแสง                         ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่
    บ้านคำหุ่ง                              ผู้ปกครอง  นายถวิล  พัฒนะสาร                         ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่    บ้านหนองกุงน้อย                   ผู้ปกครอง  นายทองเหรียญ  คำแสนโคตร            ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่    บ้านท่าช้าง
                            ผู้ปกครอง  นายเทพอนันต์  เขจรจิตร                   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่    บ้านหนองกุงน้อย
                   ผู้ปกครอง  นายประสิทธิ์  ดีรักษา                        ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่
  ๑๐  บ้านโพนทอง                       ผู้ปกครอง  นางสำราญ  ดีสวนโคก                       ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่
  ๑๑  บ้านคำป่าหวาย                   ผู้ปกครอง  นายสิทธิ์  งามผิวเหลือง                     กำนันตำบล
หมู่ที่
  ๑๒  บ้านคำอุดม                         ผู้ปกครอง  นายสมัย  พลทองเติม                        ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่  ๑๓
  บ้านหนองไผ่                        ผู้ปกครอง  นายมิตร  บุญพร                               ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่  ๑๔  บ้านหนองแสงใต้                  ผู้ปกครอง  นายเมฆ  สะหะขันธ์          
              ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่  ๑๕  บ้านโนนศาลาทอง
                ผู้ปกครอง  นายประดิษฐ์  ศรีมี                          ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่
  ๑๖  บ้านคำเขื่อนแก้ว                  ผู้ปกครอง  นายวีระยุทธ  เวียงสมุทร                   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่
  ๑๗  บ้านหนองแสงเหนือ              ผู้ปกครอง  นายเที่ยง   ราชชารี                          ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่  ๑๘  บ้านโนนหนองไฮ                  ผู้ปกครอง  นายชัยยา  พังคะโส                          ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่  ๑๙
  บ้านโนนทัน                          ผู้ปกครอง  นายสัมฤทธิ์  ยันตา                         ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่  ๒๐  บ้านสันติสุข
                         ผู้ปกครอง  นายสัมพันธ์  ศรีสุลัย                        ผู้ใหญ่บ้าน

๒.๒ การเลือกตั้ง 

องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ มีทั้งหมด ๒๐ หมู่บ้าน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วสตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน การเลือกตั้งจะมีผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน ๑ คน การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ ๑ คน ๒๐ หมู๋บ้านรวมเป็น ๒๐ คน ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ ๔,ฦ๕๖๔  คน  จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ,๙๕๕ คน คิดเป็นร้อน ๓๙.๘๓ องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ  การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔)